วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระับบและวิธีการเชิงระบบหมายถึง
ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน



             ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง 



 ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 
                      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล 
ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 
                      2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถ
สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ 
และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ 
                      3 User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 
                      4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 
ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสาน
กัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
                     5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
ในระบบสารสนเทศ

 ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
           ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อยคือ
               1 วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
               2 วิเคราะห์หน้าที่
               3 วิเคราะห์งาน
               4 วิเคราะวิธีการและสื่อ
          ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
               1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
               2 ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               3 ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
          ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
  
    ความรู้ (knowledge)
เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระเนื้อหากระบวนการ และขั้นตอนอาจอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล
                  ความรู้ มีความสำคัญต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมเสมอ มนุษย์ใช้ความรู้แก่ข้ปัญหา การสร้างสรรค์ผลงาน และการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพื่อให้มนุษย์และประชาคมโลกได้อยู่รวมกันอย่างมีความสุขโดยทั่วหน้า

 การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
                 1 ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
                       1. การรวบรวมข้อมูล
                       2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
                       3. การจัดเก็บข้อมูล
                       4. การควบคุมข้อมูล
                       5. การสร้างสารสนเทศ
                 2 วิธีการเก็บข้อมูล
                       1. การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
                       2. การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
                       3. การนับจำนวนหรีอวัดขนาดของตนเอง


    เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อข่ายสื่อสารข้อมูล หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูล มี 2 ประเภท
          1. สถานีงาน (Workstation) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ณ จุดที่จัดไว้ให้ผู้มาใช้ร่วมกัน     
          2. เครื่องบริการ (Server) เป็นเครื่องขนาดใหญ่ที่ใช้รวมกันหลายคน เป็นเครื่องที่ใช้เก็บฐานข้อมูลหรือโปรแกรมสำเร็จประยุกต์


  เครื่อข่ายสื่อสารข้อมูล คือ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้
           1. LAN  คือ เครือขายบริเวณเฉพาะที่
           2. WAN คือ เครือข่ายบรเวณกว้างระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร
           3. อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่าย WAN จำนวนมากมายซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก